กระทรวงการพัฒนาสังคมฯ เร่งกำหนดคำนิยาม 'สามีและภรรยานอกใจ-มีชู้-มีกิ๊ก' ลักษณะใดเข้าข่ายทำร้ายจิตใจตามพ.ร.บ.คุ้มครองผู้ถูกกระทำความรุนแรงในครอบครัวบ้าง หลังกฎหมายมีผลบังคับใช้เมื่อเดือน พฤศิกายน ปีที่แล้ว ระบุการกระทำผิดลักษณะดังกล่าวมีโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน ปรับไม่เกิน 6 พันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ด้านเอ็นจีโอจี้พม.เผยแพร่กฎหมายดังกล่าวแจกคู่มือคนทำงาน-ประชาชน
เมื่อวันที่ 29 เมษายน นางจิตราภา สุนทรพิพิธ รองผอ.สำนักงานกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) เปิดเผยว่า พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. 2550 ซึ่งมีผลบังคับใช้แล้วตั้งแต่วันที่ 12 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา ระบุว่าความรุนแรงในครอบครัว หมายถึง การกระทำใดๆ โดยมุ่งประสงค์ให้เกิดอันตรายแก่ร่างกาย จิตใจ หรือสุขภาพ หรือกระทำโดยเจตนาในลักษณะที่น่าจะก่อให้เกิดอันตรายแก่ร่างกาย จิตใจ หรือสุขภาพของบุคคลในครอบครัว หรือบังคับ หรือใช้อำนาจครอบงำผิดทำนองคลองธรรมให้บุคคลในครอบครัวต้องกระทำการ ไม่กระทำการ หรือยอมรับการกระทำอย่างหนึ่งอย่างใดโดยมิชอบ
ดังนั้น กรณีที่ผู้หญิงและผู้ชายถูกสามีหรือภรรยาตัวเองนอกใจโดยไม่เต็มใจ ย่อมถือเป็นการทำร้ายจิตใจด้วย สามารถใช้สิทธิ์ฟ้องดำเนินคดีตามกฎหมายนี้ได้ โดยโทษสูงสุดคือจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 6 พันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ โดยสำนักงานกิจการสตรีฯ จะเร่งหารือกับผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายเพื่อกำหนดนิยามของความรุนแรงด้านจิตใจให้ชัดเจนว่าต้องมีระดับความรุนแรงอย่างไร หรือส่งผลกระทบกับผู้ถูกกระทำมากน้อยเพียงใด จึงจะเข้าข่ายตามกฎหมายนี้' รองผอ.สำนักงานกิจการสตรีและสถาบันครอบครัวกล่าว
ด้าน น.ส. สุเพ็ญศรี พึ่งโคกสูง หัวหน้าศูนย์พิทักษ์สิทธิสตรี มูลนิธิเพื่อนหญิง เปิดเผยว่าระหว่างปี 2548-2550 พบว่ามีผู้หญิงปรึกษาปัญหาความรุนแรงในครอบครัว 3,496 กรณี ส่วนใหญ่ประสบปัญหามากกว่า 1 กรณีและมักเก็บเงียบ บางรายกลายเป็นผู้ต้องหา พยายามฆ่า หรือ ฆ่าผู้อื่นโดยเจตนาในที่สุด โดยแอลกอฮอล์เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดความรุนแรงในครอบครัวมากที่สุด
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 28 เมษายน ที่ผ่านมา มูลนิธิเพื่อนหญิงและมูลนิธิหญิงไทย ได้จัดเสวนาเรื่อง 'ไม่ทุกข์ซ้ำ ฟื้นเร็วด้วยกระบวนการที่เป็นมิตร' โดยเชิญผู้แทนกลไกสหวิชาชีพด้านกระบวนการยุติธรรม สังคมสงเคราะห์ และสุขภาพ ที่เกี่ยวข้องกับการใช้พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ.2550 โดยทุกฝ่ายยอมรับว่ายังมีความสับสนไม่ชัดเจนในการใช้กฎหมาย โดยเฉพาะกรณีที่เป็นการทำร้ายจิตใจ ลักษณะใดจึงจะเป็นความผิดตามกฎหมายนี้ จึงเรียกร้องให้กระทรวง พม. เร่งกำหนดกรอบให้ชัดเจน และจัดทำคู่มือการใช้กฎหมายแจกจ่ายให้กับผู้มีหน้าที่ปฏิบัติตามกฎหมาย เช่น พนักงานสอบสวน จิตแพทย์ นักสังคมสงเคราะห์ ผู้พิพากษาและประชาชน
ข้อมูลจาก ข่าวสด
ข้อความที่โพสจะต้องไม่น้อยกว่า {{min_t_comment}} ตัวอักษรและไม่เกิน {{max_t_comment}} ตัวอักษร
กรอกชื่อด้วยนะ
_________
กรอกข้อมูลในช่องต่อไปนี้ไม่ครบ
หรือข้อมูลผิดพลาดครับ :
_____________________________
ช่วยกรอกอีกครั้งนะครับ
กรุณากรอกรหัสความปลอดภัย
ความคิดเห็น